เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding Goal) : นักเรียนตระหนักรู้และเข้าใจความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรมทั่วโลก เคารพวิถีการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างสงบสุข อีกทั้งสามารถแนะนำ จัดการเดินทาง เช่น การติดต่อประสานงาน การเตรียมเอกสาร การยื่นเอกสาร และการเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางของตนเองและผู้อื่นได้

Week 6


เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลพื้นฐานของสถานที่ท่องเที่ยวประเทศนั้นๆที่ศึกษาค้นคว้าได้
Week
Input
Process
Output
Outcome

6
28 พ.ย. –
ธ.ค.
59

โจทย์ : แหล่งท่องเที่ยว
-          ธรรมชาติ
-          แหล่งอารยธรรมเก่าแก่

Key  Questions :
-    นักเรียนจะเลือกไปสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศของตนเองอย่างไรให้ได้เรียนรู้มากที่สุด?
-    สถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง?
ครื่องมือคิด :
·         Brainstorms สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเทศกาล
·         Show and Share นำเสนอประเทศของตนเอง
·         Jigsaw ลักษณะภูมิศาสตร์แต่ละประเทศ
·         BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์
·         DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·         AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- รูปภาพเทศกาล “Albuquerque International Balloon Fiesta (สหรัฐอเมริกา) เทศกาลบอลลูนนานาชาติ,
Winter Light Festival (ญี่ปุ่น)
- คลิปไทลื้อ ไตลื้อ : ความจริง ความเชื่อ หรือเชื้อชาติ?? Tai Lue Tribal 
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :  
- นักเรียนดูคลิปไทลื้อ ไตลื้อ : ความจริง ความเชื่อ หรือเชื้อชาติ?? Tai Lue Tribal 
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ชาวไทลื้อเป็นใคร อาศัยอยู่ที่ใดบ้าง รู้ได้อย่างว่าอพยพมาจากไหน?”
เชื่อม : 
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับชาวไทยลื้อ
- นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ให้เพื่อนๆ ฟัง และเพื่อนๆ เพิ่มเติมสิ่งที่ตนเองรู้
ชง :  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในประเทศของนักเรียนมีแหล่งอารยธรรมที่ใดบ้าง อย่างไร?”
เชื่อม : 
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับประเทศของตน
- นักเรียนศึกษาค้นคว้า ออกแบบการนำเสนอประเทศของตน
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งอารยธรรม (เป้าหมายศึกษาความเป็นมาที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์)
- นักเรียนออกแบบชิ้นงานแบบต่างๆ ที่ตนเองสนใจ นักเรียนนำเสนองาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-          นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-          นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-          นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-          ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
-      นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม :  นักเรียนนำเสนอภูมิศาสตร์ประเทศของตนในทุกมิติ
ชง :  
- ครูให้นักเรียนสังเกตรูปภาพเทศกาล “Albuquerque International Balloon Fiesta (สหรัฐอเมริกา) เทศกาลบอลลูนนานาชาติ, Winter Light Festival (ญี่ปุ่น)
 และตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าเทศกาลนี้ทำขึ้นเพื่ออะไรบ้าง? ไม่มีเทศกาลนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง”
เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามกับเทศกาล ค้นคว้าหาข้อมูล อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าเกี่ยวกับอารยธรรมของประเทศตนเอง
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-     ค้นคว้าหาข้อมูลศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งอารยธรรม (เป้าหมายศึกษาความเป็นมาที่ปรากฏเป็นหลักฐานทาง เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ
-    นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน
วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาล “Albuquerque International Balloon Fiesta (สหรัฐอเมริกา) เทศกาลบอลลูนนานาชาติ,
Winter Light Festival (ญี่ปุ่น)

ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจเทศกาล
- ชาร์ตความรู้อารยธรรมประเทศของตน                                      
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (ในรูปแบบการถ่ายทำคลิปวีดีโอ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเขียน)
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลพื้นฐานของสถานที่ท่องเที่ยวประเทศนั้นๆที่ศึกษาค้นคว้าได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำ (ทรัพยากร)
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและภูมิศาสตร์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์






ตัวอย่างกิจกรรม




 

ตัวอย่างชิ้นงาน









 





1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2559 เวลา 21:26

    ในสัปดาห์นี้พี่ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม หลังจากดูคลิป ชาวไทลื้อ ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับอารยธรรม ซึ่งพี่ๆ หลายคนสับสนว่าอารยธรรมกับวัฒนธรรมเหมือนหรือแตกต่างกัน แล้วความเชื่อ ศาสนาเป็นอารยธรรมด้วยหรืออไม่ ครูจึงให้นักเรียนลองแบ่งกลุ่มช่วยกันสรุปความหมายของอารยธรรมที่ตนเองคิดก่อนค้นคว้าหาข้อมูลที่แท้จริง โดยสัปดาห์นี้เป็นการค้นหาแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมของประเทศตนเอง
    วันอังคารพี่ๆ ค้นหาข้อมูลและนำมาเขียนเป็นโปสเตอร์แล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมประเทศของตนเอง และท้ายชั่วโมงครูและพี่ๆ พูดคุยกันเกี่ยวกับการทำงาน โดยส่วนใหญ่พี่ๆ ไม่มีปัญหากับการทำงาน
    วันพฤหัสบดี พี่ๆ นำเสนอโปสเตอร์แหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม เช่น
    พี่บีท “ประเทศซีเรีย พบว่าเป็นทางผ่านการค้า ส่งของไปที่ยุโรป เป็นโอเอซีสที่สมบูรณ์ เป็นมรดกโลก”
    พี่ออสติน “อิสตันบูล เมืองแห่งนี้ยังมีเอกลักษณ์ที่มีชีวิตชีวาเป็นเมืองที่รวมทวีปยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีช่องแคบบอสฟอรัสเป็นพรมแดนธรรมชาติมีสายน้ำคั่นกลาง และเชื่อมทั้งสองทวีปเข้าด้วยกันด้วยสะพาน”
    วันศุกร์พี่ๆ สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์ของตนเองค่ะ

    ตอบลบ