เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding Goal) : นักเรียนตระหนักรู้และเข้าใจความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรมทั่วโลก เคารพวิถีการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างสงบสุข อีกทั้งสามารถแนะนำ จัดการเดินทาง เช่น การติดต่อประสานงาน การเตรียมเอกสาร การยื่นเอกสาร และการเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางของตนเองและผู้อื่นได้

Week 3

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวประเทศนั้นๆ ที่ศึกษาค้นคว้าได้
Week
Input
Process
Output
Outcome

3
21 – 25
ส.ค.
59
โจทย์ : ภูมิศาสตร์
-       ภูมิศาสตร์กายภาพ
-       ภูมิศาสตร์มนุษย์
-       ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม
-       จีโอเมตริก
-       ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
-       อื่นๆ

Key  Questions :
-  ทำไมลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน?
-  ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีผลกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่นอย่างไรบ้าง?
ครื่องมือคิด :
ครื่องมือคิด :
·         Brainstorms สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเทศกาล
·         Show and Share นำเสนอประเทศของตนเอง
·         Jigsaw ลักษณะภูมิศาสตร์แต่ละประเทศ
·         BAR วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์
·         DAR ระหว่าทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
·         AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรม
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

-     Placemat สรุปประเด็นจากคำถามภายหลังทำกิจกรรม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- รูปภาพ  Holi Color Festival (อินเดีย) สำหรับเทศกาลดังกล่าวนิยมเรียกกันในชื่อ "เทศกาลสาดสี" , Els Enfarinats Festival Celebrated With Flour Fight In Ibi หรือเทศกาลสาดแป้ง หรือไข่ (สเปน),
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง :  
- ครูนำฉลากประเทศต่างๆ มาให้นักเรียนจับฉลาก เช่น
ประเทศอิตาลี, ประเทศสเปน, ประเทศกรีซ, ประเทศไซปรัส, ประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศอิรัก, ประเทศเลบานอน, ประเทศอิสราเอล, ประเทศตุรกี, ประเทศบัลแกเรีย,
ประเทศเลบานอน, ประเทศอียิปต์ประเทศอิหร่าน, ประเทศซีเรีย, ประเทศซีเรีย, ปาเลสไตน์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้และอยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับประเทศที่ตนจับฉลากได้?”
เชื่อม : 
- นักเรียนเขียนประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศที่ตนจับฉลากได้
- นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ให้เพื่อนๆ ฟัง และเพื่อนๆ เพิ่มเติมสิ่งที่ตนเองรู้
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง :  
- ครูเล่าเรื่องการจัดการทรัพยากรของสิงคโปร์ให้นักเรียนฟัง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “มีประเทศไหนบ้างที่นักเรียนรู้จัก มีการจัดการทรัพยากรประเทศของตนเองได้ดี?
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ให้เพื่อนๆ ฟัง
- นักเรียนออกแบบทดลองการกรอง การกลั่น (เชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรน้ำ เช่น น้ำทะเลทำให้เป็นน้ำจืด ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า)
การบ้าน ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ (เป้าหมายภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจีโอเมตริก ภูมิศาสตร์ภูมิภาค อื่นๆ)
วันพฤหัสบดี (2 ชั่วโมง)
เชื่อม : 
-     นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมต่อจากวันอังคาร พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (เป้าหมายความเข้าใจ กระบวนการจัดการน้ำ)
-     นักเรียนนำเสนองาน
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
-          นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
-          นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-          นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
-          ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
-      นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
-      นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากคำถามและข้อเสนอแนะของเพื่อนๆ และครู เพื่อพัฒนา
ชง :  
- ครูให้นักเรียนสังเกตรูปภาพHoli Color Festival (อินเดีย) สำหรับเทศกาลดังกล่าวนิยมเรียกกันในชื่อ "เทศกาลสาดสี" และเทศกาล Els Enfarinats Festival
 Celebrated With Flour Fight In Ibi หรือเทศกาลสาดแป้ง หรือไข่ (สเปน


เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามกับเทศกาล ค้นคว้าหาข้อมูล อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
วันศุกร์  (ชั่วโมง)
เชื่อม : 
- นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศของตนเอง
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-    ค้นคว้าและออกแบบการทดลองที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ที่มีอยู่อย่างจำกัด
-     ค้นคว้าหาข้อมูลภูมิศาสตร์ของประเทศที่ตนเองได้รับมอบหมายนำเที่ยว (เป้าหมายภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจีโอเมตริก ภูมิศาสตร์ภูมิภาค อื่นๆ) เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ
-    นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน
-    วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาล Holi Color Festival (อินเดีย) สำหรับเทศกาลดังกล่าวนิยมเรียกกันในชื่อ "เทศกาลสาดสี" , Els Enfarinats Festival Celebrated With Flour Fight In Ibi หรือเทศกาลสาดแป้ง หรือไข่ (สเปน)

ชิ้นงาน
- การทดลองกรองน้ำ กลั่น และสรุปผลการทดลอง
- สรุปความเข้าใจเทศกาล
- ชิ้นงานโมเดลสภาพภูมิศาสตร์                                      
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (ในรูปแบบการถ่ายทำคลิปวีดีโอ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเขียน)
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวประเทศนั้นๆ ที่ศึกษาค้นคว้าได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำ (ทรัพยากร)
- วางแผนปฏิทินการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับการตั้งคำถามและการนำเสนอชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและภูมิศาสตร์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์




ตัวอย่างกิจกรรม














 คลิปการนำเสนองาน




ตัวอย่างชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ พี่ๆ ไม่ได้เรียนตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีการเลือกประเทศและออกแบบนิตยาสารในสัปดาห์ที่ 2 แล้ว และพี่ๆ ได้เชื่อมโยงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ว่ามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งได้บ้าง เช่น
    พี่เพลง “อากาศครับ”
    พี่เพ็ชร “แม่น้ำครับ” เพื่อนๆ คนอื่นช่วยกันเสริม ครูจึงให้โจทย์ว่า ถ้านักเรียนต้องออกแบบลักษณะทางภูมิประเทศ โดยสามารถอธิบายและทดลองให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ด้วย กลุ่มพี่มายด์ “ทำการทดลองเกี่ยวกับน้ำทะเลได้ไหมค่ะ น้ำเค็ม”
    กลุ่มพี่อัง อัง “ครูคะหนูเลือกคลื่นค่ะ มีทั้งแรงลมและสึนามิด้วยค่ะ”
    กลุ่มพี่ปังปอนด์ “ผมทำภูเขาไฟครับ เดี่ยวหาการทดลองอีกทีครับ”
    และในสัปดาห์นี้พี่ๆ ได้วางแผนการเรียนรู้ของตนเองในการทำ Model ประเทศตนเองในลักษณะภูมิประเทศ
    ในวันอังคารพี่ๆ ทำงานของตนเองที่ได้เตรียมไว้ เพื่อนำเสนอในวันศุกร์ และการทดลองในวันพฤหัสบดี ซึ่งในสัปดาห์นี้พี่ๆ มีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก
    ในวันพฤหัสบดี พี่ๆ นำเสนองานการทดลองซึ่ง ทุกคนทำได้ดีและมีคำถามในการทดลองของเพื่อนๆ เช่น
    พี่ปังปอนด์ “ภาคอีสานไม่มีทะเลทำไม ทำนาเกลือได้ ถ้าการชะล้างจากฝนทำให้น้ำเค็ม ทำไมน้ำมาศไม่เค็มเมื่อฝนชะล้าง?”
    พี่อัง อัง “ภูเขามีการแบ่งประเภทหรือไม่ อย่างไรคะ?”
    พี่เพลง “ทำไมหินภูเขาไฟลอยน้ำได้ และเมนทอลทำปฏิกิริยาอย่างไรกับน้ำอัดลม?”
    และในวันศุกร์พี่ๆ นำเสนอภูมิประเทศของตนเอง ซึ่งทุกคนทำได้ดี และเพื่อนก็สนใจตั้งคำถาม และช่วยกันตอบคำถาม หลังจากนั้นสรุปสัปดาห์ของตนเอง
    สัปดาห์นี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องเทศกาลในวันพฤหัสบดี คุณครูจะนำไปพูดรวมกันในสัปดาห์หน้าค่ะ

    ตอบลบ