คำถามหลัก (Big
Questions) : ถ้านักเรียนเป็นไกด์จะออกแบบและวางแผนนำเที่ยวต่างประเทศในระยะเวลา 1 สัปดาห์อย่างไรให้คุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุดที่สุด?
ภูมิหลังของปัญหา :
การอยู่รวมกันของกลุ่มคน มีวิถีการดำเนินชีวิต
พฤติกรรมการอยู่รวมกันอย่างปกติสุขในสังคมแบบเดียวกัน ทำให้เกิดวัฒนธรรม
ความเชื่อและวิถีการดำรงชีวิตเฉพาะของแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ขึ้น ในอดีตการเดินทางเป็นการติดต่อกับภูมิภาคอื่นเพื่อล่าอาณานิคม
การค้าขาย การเจริญไมตรี และการย้ายถิ่นฐาน ทำให้เกิดการเชื่อมประสานของวัฒนธรรมและวิถีอันหลากหลาย
ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัยความเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดสู่รุ่นต่อๆ
ไป แต่หากไม่เป็นการยอมรับก็จะเลือนหายไป แต่ในปัจจุบันการเดินทางเป็นการทำงาน การพักผ่อน การท่องเที่ยว
การแสวงหาความรู้ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้น แม้ในแต่ละพื้นที่หรือประเทศจะมีข้อกำหนดและข้อตกลงในการข้ามแดน
(เดินทาง) ที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นหากนักเรียนได้เรียนรู้ “ท่องเที่ยวต่างแดน”
จะเข้าใจความแตกต่างหลากหลาย
เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศนั้นๆ
เข้าใจกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น การติดต่อประสานงาน ยื่นเอกสารการเดินทาง
และการเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง ฯลฯ อีกทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตนเองสู่โลกที่กว้างขึ้น
(บางประเทศอาจเป็นประเทศที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน) และถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ตารางความสัมพันธ์ Core Subject
หน่วย : ท่องเที่ยวต่างแดน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 3/2559
สุขภาพ
|
เศรษฐศาสตร์และการประกอบการ
|
สิ่งแวดล้อม
|
หน้าที่พลเมือง
|
-
การท่องเที่ยวทำให้ร่ายกายผ่อนคลายความเครียดสนุกสนาน
-
สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติทำให้เราได้รับอากาศบริสุทธิ์
-
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น
-
สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งไม่เหมาะกับบุคคลบางกลุ่ม
เช่น สวนสนุกผาดโผน คนเป็นโรคหัวใจไม่ควรเล่น
-
หากไม่มีการวางแผนก่อนออกเดินทางอาจทำให้เกิดความเครียดถ้าเจอเรื่องไม่คาดฝัน
-
การเดินทางไกลอาจส่งผลกับร่างกาย เช่น การเมารถ
เรือ เครื่องบน หรือประสบอุบัติเหตุ
|
- สร้างรายได้ที่เกิดจากกิจการท่องเที่ยว
เช่น ค่าบริการ อาหาร ที่พักอาศัย และอื่น ๆ ซึ่งรายได้
- สร้างงานใหม่ให้แก่บุคคลในท้องถิ่น
เช่น โรงแรม บังกะโล ภัตตาคาร ร้านขายของที่ระลึก
- ทำให้การบริการขนส่งสะดวก
รวดเร็วขึ้น
- เกิดอาชีพ เช่น การจ้างคนงานก่อสร้าง คนงานผลิตสินค้าพื้นเมือง
พนักงานบริการทั้งฝ่ายต้อนรับ อาหาร ทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย พนักงานขับรถ
และมัคคุเทศก์
- สินค้าพื้นเมืองและสินค้าเกษตรกรรมขายได้ราคาดี
- มีอาชีพเสริมสร้างรายได้หลังจากประกอบอาชีพหลัก
เช่น อาชีพการเกษตร ยามว่างจากการทำนาก็จะผลิตสินค้าพื้นเมือง
|
-
ได้รับความสนใจจากหน่วยงานของรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น
-
มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมหรือมีการเข้าควบคุมเพื่อให้คงสภาพที่ดีเหมือนเดิมให้มากที่สุด
หรืออย่างน้อยก็ให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
- เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง
ๆ มากเกินกว่าที่สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนั้น จะส่งทำให้สถานที่ท่องเที่ยวเสื่อมโทรมหรือถูกทำลายมากเกินกว่าที่จะบูรณะให้คืนสู่สภาพเดิมได้
- การที่นักท่องเที่ยวนำสิ่งปฏิกูลต่าง
ๆ ที่เกิดจากเศษอาหารและวัสดุที่ใช้ในสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งน้ำ
ในบริเวณใกล้เคียง จะทำให้เกิดมลพิษ
- ทำให้ทัศนียภาพที่สวยงาม
โดยทั่วไปถูกทำลาย
|
-
ซื่อสัตย์สุจริต
ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
-
เคารพ
และอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลายได้
-
การจัดการความขัดแย้งและสร้างสันติวิธีในการอยู่ร่วมกัน
-
มารยาทไทย (การแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกาย การมีสัมมาคารวะ)
-
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เสียสละ และรับผิดชอบต่อสังคม
-
ขนบธรรมเนียม
ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
|
ปฏิทินแผนจัดกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : "ท่องเที่ยวต่างแดน”
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1 - 2
|
โจทย์ :
- สร้างแรงบันดาลใจ / สร้างฉันทะ
- ออกแบบการเรียนรู้
Key Questions :
- เราได้อะไรจากการเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ?
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรเพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด
:
-
Brainstorms
-
Placemat
-
Think Pair
Share
-
Card & Chart
-
Think Pair Share
-
Show and Share
-
Mind Mapping
-
Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คลิปวีดีโอ หนังพาไป Season 3 ตอนที่ 13 พาราณสี เมืองที่มีมาพร้อมกับกาลเวลา
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- บัตรคำ เมืองหลวงประเทศ
|
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3-4 คน เล่นเกมจับคู่เมืองหลวงกับประเทศและเมืองเก่าแก่และประเทศ
นักเรียนรู้อะไร และสิ่งใดที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ Placemat พร้อมนำเสนอ
-
ดูคลิปวีดีโอ หนังพาไป Season 3 ตอนที่ 13 พาราณสี เมืองที่มีมาพร้อมกับกาลเวลา
(https://www.youtube.com/watch?v=Lbd7gPzO6yQ
-
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
และสิ่งใดที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยใช้เครื่องมือคิด Card &
Chart
-
นักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกมที่สุดในโลก
(ตอบคำถามที่สุดในโลก) โดยใช้เครื่องมือคิด
Wall Thinking
- นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
และตั้งชื่อหน่วย PBL
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- นักเรียนเขียน Mind mapping ความรู้ก่อนเรียน
- นักเรียนออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือคิด Round Robin และ Show
and Share
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากการเล่นเกม
- วิเคราะห์
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้จากคลิปวีดีโอ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน
พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ
- การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- การวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ออกแบบคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน
ชิ้นงาน
-
Placemat สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกม
-
ป้ายชื่อหน่วยการเรียนรู้
-
สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
-
ปฏิทินการเรียนรู้
-
สรุปความเข้าใจเทศกาล
-
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (ในรูปแบบการถ่ายทำคลิปวีดีโอ
ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเขียน)
|
ความรู้ :
-
นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจอยากเรียนรู้และสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
- เข้าใจและสามารถกระบวนการวางแผนการเรียนรู้มีกระบวนการทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอนและสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
3-4
|
โจทย์ : ภูมิศาสตร์
- ภูมิศาสตร์กายภาพ
- ภูมิศาสตร์มนุษย์
- ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- จีโอเมตริก
- ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
- อื่นๆ
Key Questions :
- ทำไมลักษณะภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน?
- ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีผลกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่นอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด
:
- Brainstorms
- Show and
Share
- Jigsaw
- Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- รูปภาพ “Holi
Color Festival (อินเดีย) สำหรับเทศกาลดังกล่าวนิยมเรียกกันในชื่อ
"เทศกาลสาดสี" , Els Enfarinats Festival Celebrated With
Flour Fight In Ibi หรือเทศกาลสาดแป้ง หรือไข่ (สเปน), เทศการปามะเขือเทศ, สงครามปาผลส้ม”
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
|
- ครูเล่าเรื่องการจัดการทรัพยากรของสิงคโปร์ให้นักเรียนฟัง
- นักเรียนออกแบบทดลองการกรอง การกลั่น (เชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรน้ำ
เช่น น้ำทะเลทำให้เป็นน้ำจืด ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า)
- ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเทศที่จับฉลากได้ เช่น
ประเทศอิตาลี,
ประเทศสเปน, ประเทศกรีซ, ประเทศไซปรัส, ประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศอิรัก, ประเทศเลบานอน, ประเทศอิสราเอล, ประเทศตุรกี, ประเทศบัลแกเรีย, ประเทศเลบานอน,
ประเทศอียิปต์, ประเทศอิหร่าน, ประเทศซีเรีย, ประเทศซีเรีย, ปาเลสไตน์
-
นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ (เป้าหมายภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจีโอเมตริก
ภูมิศาสตร์ภูมิภาค อื่นๆ)
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์
- ออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆ
- อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
-
นักเรียนสังเกตรูปภาพเทศกาล
Holi Color Festival (อินเดีย) "เทศกาลสาดสี"
Els Enfarinats Festival Celebrated With
Flour Fight In Ibi หรือเทศกาลสาดแป้ง หรือไข่ (สเปน)
เทศกาลปามะเขือเทศ
เทศกาลสงครามปาผลส้ม
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามกับเทศกาล
ค้นคว้าหาข้อมูล อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ค้นคว้าและออกแบบการทดลองที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ
ที่มีอยู่อย่างจำกัด
-
ค้นคว้าหาข้อมูลภูมิศาสตร์ของประเทศที่ตนเองได้รับมอบหมายนำเที่ยว (เป้าหมายภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจีโอเมตริก ภูมิศาสตร์ภูมิภาค อื่นๆ) เพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน
- วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาล “Holi Color Festival (อินเดีย) สำหรับเทศกาลดังกล่าวนิยมเรียกกันในชื่อ
"เทศกาลสาดสี" , Els Enfarinats Festival Celebrated With
Flour Fight In Ibi หรือเทศกาลสาดแป้ง หรือไข่ (สเปน), เทศการปามะเขือเทศ, สงครามปาผลส้ม”
ชิ้นงาน
- การทดลองกรองน้ำ กลั่น และสรุปผลการทดลอง
-
สรุปความเข้าใจเทศกาล
- ชิ้นงานโมเดลสภาพภูมิศาสตร์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
(ในรูปแบบการถ่ายทำคลิปวีดีโอ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเขียน)
|
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวประเทศนั้นๆ ที่ศึกษาค้นคว้าได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
5-6
|
โจทย์ : แหล่งท่องเที่ยว
- ธรรมชาติ
- แหล่งอารยธรรมเก่าแก่
Key Questions :
- นักเรียนจะเลือกไปสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศของตนเองอย่างไรให้ได้เรียนรู้มากที่สุด?
- สถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Jigsaw
- Round Rubin
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- รูปภาพเทศกาล
“Albuquerque International Balloon Fiesta (สหรัฐอเมริกา) เทศกาลบอลลูนนานาชาติ,
Winter Light Festival (ญี่ปุ่น),
The Fuji Shibazakura Festival (ญี่ปุ่น), The International Highline Meeting Festival, Monte Piana (อิตาลี)”
|
- นักเรียนดูคลิปไทลื้อ ไตลื้อ : ความจริง ความเชื่อ หรือเชื้อชาติ?? Tai Lue Tribal
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับชาวไทยลื้อ
- ค้นคว้าหาแหล่งท่องเที่ยว โดยออกแบบการเรียนรู้ประเทศของตนเอง
(เป้าหมายสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งอารยธรรมเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนในท้องถิ่น
เช่น การแต่งกาย ภาษา ฯลฯ)
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- ออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆ
- อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
- นักเรียนสังเกตรูปภาพเทศกาล
The Fuji Shibazakura Festival (ญี่ปุ่น)The International Highline Meeting Festival, Monte Piana (อิตาลี) Winter Light Festival (ญี่ปุ่น)
Albuquerque International Balloon Fiesta (สหรัฐอเมริกา)
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามกับเทศกาล ค้นคว้าหาข้อมูล
อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในประเทศของตน
- ออกแบบนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวของตนเองเพื่อนำเสนอ
- วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาล “Albuquerque International Balloon Fiesta (สหรัฐอเมริกา)
เทศกาลบอลลูนนานาชาติ,
Winter
Light Festival (ญี่ปุ่น), The Fuji Shibazakura Festival (ญี่ปุ่น), The International Highline Meeting Festival, Monte Piana (อิตาลี)”
- นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน"
ชิ้นงาน
- โปรสการ์ดแหล่งท่องเที่ยว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (ในรูปแบบการถ่ายทำคลิปวีดีโอ
ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเขียน)
|
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายข้อมูลพื้นฐานของสถานที่ท่องเที่ยวประเทศนั้นๆที่ศึกษาค้นคว้าได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
7
|
โจทย์ : ออกแบบวางแผนเดินทาง
-
จัดเตรียมเอกสาร
-
สถานทูต
Key Questions :
- นักเรียนมีวิธีการวางแผนการการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศได้อย่างไร?
- สถานทูตเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรา
มีอยู่ทุกประเทศหรือไม่อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Round Rubin
- Card and Chart
- Show and Share
- Jigsaw
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน/วิทยากร
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- รูปภาพ “Baby-Jumping Festival หรือประเพณีกระโดดข้ามเด็กทารก (ประเทศสเปน) และ The Carnival in Rio de Janeiro แสดงศิลปะ
การละเล่น (บราซิล)
|
- ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทาง
สายการบิน การทำ Passport/ Visa ค่าใช้จ่าย สกุลเงิน ของประเทศที่ศึกษาค้นคว้า
- ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำคัญของสถานฑูตไทยและประเทศของตนเองในประเทศไทย
- นักเรียนสังเกตรูปภาพ
The Carnival in Rio de Janeiro แสดงศิลปะ การละเล่น (บราซิล)
“Baby-Jumping Festival หรือประเพณีกระโดดข้ามเด็กทารก (ประเทศสเปน) นักเรียนตั้งคำถามกับเทศกาล ค้นคว้าหาข้อมูล อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบคลิปวีดีโอการทำวีซ่า
Passport/ Visa
|
ภาระงาน
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทาง
สายการบิน การทำ Passport/ Visa ค่าใช้จ่าย สกุลเงิน ของประเทศนั้นๆ ในรูปแบบชาร์ตความรู้
- ออกแบบปฏิทินการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศของตนเอง
วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาล “Baby-Jumping Festival หรือประเพณีกระโดดข้ามเด็กทารก (ประเทศสเปน)และ
The Carnival in
Rio de Janeiro แสดงศิลปะ การละเล่น (บราซิล)
- นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน"
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องสถานทูตไทยในประเทศของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบคลิปวีดีโอการทำวีซ่า Passport/ Visa
|
ความรู้ :
- เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศที่ศึกษาค้นคว้าได้
- เข้าใจและสามารถอธิบายการทำ Passport/ Visa
ของประเทศที่ศึกษาค้นคว้าได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
8
|
โจทย์ : เตรียมพร้อมก่อนออกเดินทาง
Key Questions :
ถ้าต้องไปต่างประเทศนักเรียนจะเตรียมตัวหรือสิ่งของต่างๆ
ในการเดินทางอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Round Rubin
- Card and Chart
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน/วิทยากร (ผู้ปกครอง)
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
- ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางไปท่องเที่ยวต่างแดน เช่น เตรียมความพร้อมค่าเดินทาง เสื้อผ้า
เตรียมพร้อมร่างกาย การซีดวัคซีนและการติดต่อสถานที่ต่างๆที่จะไปเที่ยวรวมถึงการจองที่พัก
- นักเรียนสังเกตรูปภาพ
Throwing Of The Grape Festival (ออสเตรเลีย)
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามกับเทศกาล ค้นคว้าหาข้อมูล
อภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-
ค้นคว้าวิเคราะห์เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมก่อนออกเดินทาง
-
นักเรียนจัดทำนิตยาสารแนะนำการท่องเที่ยวประเทศของตนเอง
-
วิเคราะห์ประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาล “Beryeong Mud
Festival โคลน (เกาหลีใต้) และThrowing Of The
Grape Festival (ออสเตรเลีย)”
- นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน"
ชิ้นงาน
-
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากร
-
อินโฟกราฟิก
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนออกเดินทาง
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบคลิปวีดีโอการทำวีซ่า
Passport/ Visa
|
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถอธิบายการเตรียมตัวและวางแผนการเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศที่ศึกษาค้นคว้าได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะ ICT
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าแสดงความคิดเห็น
|
9
|
โจทย์ : Review กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
Key Questions :
- การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร?
- จากรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมา
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด?
เครื่องมือคิด :
-
AAR
-
Show and
share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศในชั้นเรียน
|
- ครูและนักเรียนร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้
ร่วมกัน ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจาก AARและนำเสนอความเข้าใจ
จาก 2 ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
**จากรูปแบบกระบวนการเรียน 2 หน่วยที่ผ่านมา นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนรวมเล่มนิตยาสารของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอแบบไกด์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน :
- ร่วม AAR กิจกรรมออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันตลอด Quarter ที่ผ่านมา
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม สรุปประเด็นจากAAR และนำเสนอความเข้าใจ
จาก 2
ประเด็น
** การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละสัปดาห์ให้ผลเป็นอย่างไร
**จากรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมา
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างและอยากจะพัฒนาสิ่งใด
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- นักเรียนถ่ายทำคลิปวีดีโอรายการ “กว่าจะเป็นไกด์/นิตยาสารท่องเที่ยวต่างแดน"
ชิ้นงาน :
- รวมเล่มนิตยสารการท่องเที่ยว
- ชิ้นงานนำเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นในวง AAR
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำเสนอความคิดเห็นมุมมองด้านข้อดีและข้อด้อยของกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำไปพัฒนาต่อได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน คุณลักษณะ: - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
10
|
โจทย์ : การสรุปและเผยแพร่องค์ความรู้
ประเมินตนเอง
Key Questions :
- นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นรับรู้อย่างไรให้น่าสนใจโดยที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้?
- อะไรที่นักเรียนทำได้ดีแล้ว
อะไรที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม?
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin
- Show and Share
- Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- ชุดและอุปกรณ์ที่นักเรียนเตรียมมาสำหรับการแสดง
- คอมพิวเตอร์
|
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาและตลอดทั้ง Quarter 2
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับการสรุปสิ่งที่เรียนรู้ตลอดทั้ง Quarter เพื่อมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนแต่ละคนข้อมูลในรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
อาทิเช่น Clip VDO ชาร์ตภาพเรื่องราว ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคืบหน้าของงานตนเอง
โดยให้เพื่อนและครูร่วมนำเสนอความคิดเห็น เพื่อเพิ่มเติมประเด็นต่างๆ
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ครูและนักเรียนร่วมสรุปตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้
- นักเรียนทำสรุปองค์ความรู้หลังเรียน Quarter 3
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์ประเมินตนเอง
พร้อมทั้งเขียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- วางแผนสรุปงานในรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ
- วางแผนการทำงาน
- ประเมินตนเอง
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียน (Mind Mapping. การ์ตูนช่อง หรืออื่นๆ
ตามความสนใจ)
- ประเมินตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
- นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งรอบตัวเรา
รวมทั้งนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
- สามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้ผู้อื่นเข้าใจ
ชี้ให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถการวางแผนการนำเสนอการเรียนรู้ที่ผ่านมาให้แก่ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ
ทักษะ :
ทักษะการเรียนรู้
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติต่อหลักสำคัญของการเรียนรู้ด้านการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่า
- การอธิบายความหลากหลายของข้อมูล
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์สาระการเรียนรู้กับมาตรฐานและตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย : “The world Ticket ตั๋วพาไป”
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Quarter 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
กิจกรรม
Active learning
|
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
|
||||||
ว22102
|
ส22103
|
ส22104
|
ง22102
|
พ22102
|
ศ22102
|
ส22202
|
|
- นิตยสารนำเที่ยวต่างแดน
- ทดลองและจำลองปรากฏการณ์ธรรมชาติ
- นำเที่ยวแหล่งอารยธรรมต่างแดน
- นำเสนอความเชื่อ ศาสนา
และพิธีกรรมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของสังคมทั่วโลก
- ออกแบบ เตรียมเอกสารและจัดเตรียมตัวเดินทางท่องเที่ยว
- เดินทางท่องเที่ยวทัศนศึกษา
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินทางท่องเที่ยว
- จัดนิทรรศการการเรียนรู้ตลอด 1 Quarter ที่ผ่านมา
|
มาตรฐาน ว 2.2
-
วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากร ธรรมชาติ ในท้องถิ่น
และเสนอแนวทาง ในการ แก้ไขปัญหา
-
อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
-
อภิปรายการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
-
วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-
อภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อมและเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
(ว 2.2 ม3/1-6)
มาตรฐาน
ว 3.2
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของสารเคมี
ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
(ว 3.2 ม2/3)
มาตรฐาน ว 5.1
อธิบายผลของความสว่างที่มีต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
(ว 5.1 ม2/2)
มาตรฐาน ว 8.1
-
ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ
หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่าง ครอบคลุ่มและเชื่อถือได้
- สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ
วิธี
-
เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย
โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม
- รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ
-
วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ
- สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ
ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
- สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด
กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
- บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ
ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ
เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม
- จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ
และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ว 8.1 ม2/1-9)
|
มาตรฐาน ส 1.1
- อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตน
นับถือสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
- วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธ ศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
-
วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตน
นับถือในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติและมรดกของชาติ
- อภิปรายความสำคัญของพระพุทธ ศาสนาหรือศาสนาที่ตน นับถือกับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม
-
วิเคราะห์พุทธประวัติหรือประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
-
วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก
ชาดก
เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด
- อธิบายโครงสร้าง
และสาระ สังเขปของพระไตรปิฏก หรือคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ
- อธิบายธรรมคุณและ
ข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ๔ หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตน
นับถือตามที่กำหนดเห็นคุณค่าและนำไปพัฒนา
แก้ปัญหาของชุมชนและสังคม
-
เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม
และวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
- สวดมนต์ แผ่เมตตา
บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติหรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
-
วิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือเพื่อการดำรงตนอย่างเหมาะสมในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก
และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
(ส 1.1 ม2/1-9)
มาตรฐาน ส 1.2
- ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่าง
ๆตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
- มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด
- วิเคราะห์คุณค่าของ
ศาสนพิธี และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
-
อธิบายคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางศาสนาและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
- อธิบายความแตกต่างของศาสนพิธีพิธีกรรม
ตามแนวปฏิบัติของศาสนาอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การยอมรับ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน
(ส 1.2 ม2/1-5)
- นำเสนอแนวทางในการธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถือ
(ส 1.2 ม3/7)
มาตรฐาน ส 2.1
- อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัวชุมชนและประเทศ
- เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตาม สถานภาพ
บทบาทสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
- วิเคราะห์บทบาทความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม
-
อธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศ
ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
(ส 2.1 ม2/4)
มาตรฐาน ส 2.2
- อธิบายกระบวนการ ในการตรากฎหมาย
- วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร
ทางการเมืองการปกครอง
ที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยสมัยปัจจุบัน
(ส 2.2 ม2/1-2)
|
มาตรฐาน ส 4.1
- ประเมินความ
น่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่างๆ
- วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
- เห็นความสำคัญ
ของการตีความ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่น่าเชื่อถือ
(ส 4.1 ม2/1-3)
มาตรฐาน ส 4.2
- อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ
และการเมืองของภูมิภาค
ต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป
- วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลง
ที่นำไปสู่ความ ร่วมมือ
และความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตลอดจนความพยายาม
ในการขจัดปัญหาความขัดแย้ง
(ส 4.2 ม2/1-3)
มาตรฐาน ส 4.3
-
วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขไทยอยุธยา และธนบุรี ในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
- วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขไทยอยุธยา
และธนบุรี ในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
- ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอาณาจักรสุโขไทยอยุธยา
และธนบุรี ในด้านต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา
(ส 4.3 ม2/1-3)
มาตรฐาน ส 5.1
- ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปยุโรปและ แอฟริกา และทวีปอื่นๆ ทั่วโลก
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปยุโรปและ แอฟริกา และทวีปอื่นๆ ทั่วโลก
(ส 5.1 ม2/1-2)
มาตรฐาน ส 5.2
- วิเคราะห์การก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคม อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและ
ทางสังคมของทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
- ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
- สำรวจ
อภิปรายประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
-
วิเคราะห์เหตุและผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
ที่ส่งผลต่อประเทศไทย
(ส 5.2 ม2/1-4)
|
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจและสามารถใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนา
การทำงาน
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการแก้ปัญหาในการงาน
- มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า (ง1.1 ม.2 /1-3 )
- สามารถทำงานและอธิบายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
(ง1.1 ม.3 /1)
- อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
(ง 1.1ม.4-6 /1 )
- สามารถสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการทำงานร่วมกัน
(ง 1.1 ม.4-6 /2 )
- มีทักษะในการจัดการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /3)
- มีทักษะกระบวน
การแก้ปัญหาในการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /4)
- มีทักษะในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศเพื่อการดำรงชีวิต
(ง 1.1 ม.4-6 /5)
- มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน
(ง 1.1ม.4-6 /6 )
มาตรฐาน ง 2.1
เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต
สังคมและสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(ง 2.1 ม.2 /4)
มาตรฐาน ง 3.1
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบวีดีโอได้
- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จากจินตนาการอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
(ง 3.1 ม.3 /3-4)
|
มาตรฐาน พ 1.1
ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์
สังคมและสติปัญญาในวัยรุ่นได้ (พ 1.1 ม.2/2)
มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(พ 2.1 ม.3/1)
มาตรฐาน พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม
คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน
(พ 3.1 ม.3/2)
มาตรฐาน พ 3.2
- มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกได้
(พ 3.2 ม.3/3)
- นำผลในการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วยความมุ่งมั่นได้
(พ 3.2 ม.3/5)
|
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ
เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
(ศ 1.1 ม.2/3)
|
จุดเน้น 3.1
มีส่วนร่มในการสร้าง
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
(ส 3.1ม.2/6)
จุดเน้น 3.2
ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน
(ส 3.2 ม.2/7)
จุดเน้น 4.1
ยอมรับความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในประเทศและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติพึ่งพาซึ่งกันและกัน
(ส 4.1 ม.2/8)
จุดเน้น 4.2
วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคของตนเองและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
(ส 4.2ม.2/9)
จุดเน้น 5
เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
(ส 5 ม.2/10)
|